มารู้จักกับโค

“โค” มีความหมายเดียวกับ “วัว” Cattle นิยมใช้คำว่า โค ในภาษาเขียน และใช้วัวในภาษาพูด ในทางสัตววิทยา อธิบายความหมายของโคไว้ว่า โคคือสัตว์ มีกระดูกสันหลัง เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม เท้าเป็นกีบคู่ เคี้ยวเอื้อง เขากลวง มีโครโมโซม 60 คู่ คำจำกัดความของ แพะ แกะ และ กระบือ เหมือนกับของโค เพียงแต่มีโครโมโซมไม่เท่ากัน คือ กระบือ มีโครโมโซม 48 คู่ แพะ มีโครโมโซม 30 คู่ แกะ มีโครโมโซม 27 คู่
โคมีอยู่ 2 ตระกูล คือตระกูลเมืองร้อน (Bos indicus) และตระกูลเมืองหนาว(Bos taurus) ลักษณะที่แตกต่างเด่นชัดคือ โคตระกูลเมืองร้อนจะมีหนอก (hump) โคตระกูลเมืองหนาวไม่มีหนอก ในโลกมีโคประมาณ 1200 ล้านตัว ในประเทศไทยมีโคประมาณ 7-8 ล้านตัว ในจำนวนนี้เป็น โคนมในประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นพันธุ์โฮลสไตฟรีเซียน มีสีขาวดำส่วนโคเนื้อส่วนใหญ่มีสีขาว หรือสีครีม ซึ่งมีสายเลือดของพันธุ์บราห์มันและพันธุ์ชาโรเลส์
โคมีเฉพาะฟันหน้าด้านล่างจำนวน 4 คู่ ส่วนฟันหน้าด้านบนไม่มีเลย ฟันหน้าด่านล่างที่งอกออกมา ครั้งแรกซึ่งเรียกว่าพันน้ำนมจะงอกขึ้นมาครบ 4 คู่ เมื่ออายุประมาณ 1 เดือน และฟันน้ำนม(คู่ที่ 1)จะหลุดแล้วมีพันแท้ขึ้นมาแทนที่ เมื่ออายุประมาณ 2 ปี ฟันแท้คู่ที่ 2 , 3 , 4 จะมีขึ้นมาแทนที่ ฟันน้ำนมปีละ 1 คู่ (โดยประมาณ) ดังนั้นจึงสามารถทำนายอายุโคได้โดยดูจากจำนวนคู่ของฟันแท้
เขาของโคจะยาวขึ้นเรื่อย ๆ ตามอายุ เขาประกอบขึ้นด้วยแร่ธาตุต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแคลเซียม และฟอสฟอรัส เมื่อแม่โคให้ลูก 1 ตัว แคลเซียมและฟอสฟอรัสถูกดึงไปใช้ในการสร้างน้ำนม มากช่วงนั้นแคลเซียมและฟอสฟอรัสไม่พอในการเจริญของเขาตามปกติ จึงเกิดรอยคอดเป็นวงแหวน 1 วงต่อการมีลูก 1 ตัว จึงสามารถทำนายจำนวนลูกของแม่โคจากจำนวนวงแหวนที่เขาได้
ในการเลี้ยงโคเป็นการค้า เขามีโทษมากกว่าประโยชน์หลายประการ ผู้เลี้ยงจึงนิยมทำให้โคไม่มีเขา ซึ่งทำได้ 2 วิธีคือ ปรับปรุงพันธุ์ไม่ให้โคมีเขา เช่นโคพันธุ์แองกัส หรือทำลายเขาโดยการใช้หัวแร้ง เผาไฟจี้เขาลูกโคขณะอายุยังน้อย
โคมีอยู่ 2 ตระกูล คือตระกูลเมืองร้อน (Bos indicus) และตระกูลเมืองหนาว(Bos taurus) ลักษณะที่แตกต่างเด่นชัดคือ โคตระกูลเมืองร้อนจะมีหนอก (hump) โคตระกูลเมืองหนาวไม่มีหนอก ในโลกมีโคประมาณ 1200 ล้านตัว ในประเทศไทยมีโคประมาณ 7-8 ล้านตัว ในจำนวนนี้เป็น โคนมในประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นพันธุ์โฮลสไตฟรีเซียน มีสีขาวดำส่วนโคเนื้อส่วนใหญ่มีสีขาว หรือสีครีม ซึ่งมีสายเลือดของพันธุ์บราห์มันและพันธุ์ชาโรเลส์
โคมีเฉพาะฟันหน้าด้านล่างจำนวน 4 คู่ ส่วนฟันหน้าด้านบนไม่มีเลย ฟันหน้าด่านล่างที่งอกออกมา ครั้งแรกซึ่งเรียกว่าพันน้ำนมจะงอกขึ้นมาครบ 4 คู่ เมื่ออายุประมาณ 1 เดือน และฟันน้ำนม(คู่ที่ 1)จะหลุดแล้วมีพันแท้ขึ้นมาแทนที่ เมื่ออายุประมาณ 2 ปี ฟันแท้คู่ที่ 2 , 3 , 4 จะมีขึ้นมาแทนที่ ฟันน้ำนมปีละ 1 คู่ (โดยประมาณ) ดังนั้นจึงสามารถทำนายอายุโคได้โดยดูจากจำนวนคู่ของฟันแท้
เขาของโคจะยาวขึ้นเรื่อย ๆ ตามอายุ เขาประกอบขึ้นด้วยแร่ธาตุต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแคลเซียม และฟอสฟอรัส เมื่อแม่โคให้ลูก 1 ตัว แคลเซียมและฟอสฟอรัสถูกดึงไปใช้ในการสร้างน้ำนม มากช่วงนั้นแคลเซียมและฟอสฟอรัสไม่พอในการเจริญของเขาตามปกติ จึงเกิดรอยคอดเป็นวงแหวน 1 วงต่อการมีลูก 1 ตัว จึงสามารถทำนายจำนวนลูกของแม่โคจากจำนวนวงแหวนที่เขาได้
ในการเลี้ยงโคเป็นการค้า เขามีโทษมากกว่าประโยชน์หลายประการ ผู้เลี้ยงจึงนิยมทำให้โคไม่มีเขา ซึ่งทำได้ 2 วิธีคือ ปรับปรุงพันธุ์ไม่ให้โคมีเขา เช่นโคพันธุ์แองกัส หรือทำลายเขาโดยการใช้หัวแร้ง เผาไฟจี้เขาลูกโคขณะอายุยังน้อย
- เหนียงคอ(dew lap) เป็นแผ่นหนังใต้คอ โคตระกูลเมืองร้อนจะมีมากกว่าโคตระกูลเมืองหนาว ธรรมชาติสร้างมาเพื่อเพิ่มพื้นที่การระบายความร้อน
- หนอก (hump) ลักษณะเป็นก้อนเนื้อที่มีพังผืดประสานกันเป็นร่างแห หากโคได้รับอาหารเกิน ความต้องการไขมันจะไปสะสมติดอยู่กับผังผืดในหนอก
- กระเพาะโค ต่างกับกระเพาะคนหรือกระเพาะหมูคือคนหรือหมูเป็นสัตว์กระเพาะเดี่ยว ส่วนโคเป็นสัตว์ สี่กระเพาะ
- กระเพาะที่ 1 เรียกผ้าขี้ริ้ว (Rumen) เป็นกระเพาะใหญ่สุด ลักษณะเหมือนผ้าขนหนูเก่าๆ
- กระเพาะที่ 2 เรียกรังผึ้ง (Recticulum) ลักษณะเป็นหลืบคล้ายๆ รังผึ้ง
- กระเพาะที่ 3 เรียกสามสิบกลีบ (Omasum) ลักษณะเป็นกลีบจำนวนมาก (มากกว่า 30 กลีบ)
- กระเพาะที่ 4 เรียกว่าไส้เปรียว (Abomasum)ลักษณะและหน้าที่เหมือนของสัตว์กระเพาะเดียว
ขั้นตอนการกินและการใช้ประโยชน์จากอาหาร
โคจะกินหญ้าโดยใช้ลิ้นตวัดต้นหญ้าเข้าปากแล้วใช้ฟันหน้า (ล่าง) กัดต้นหญ้านั้นประกบกับเหงือกบน พร้อมกับเบี่ยงหัวเพื่อดึงต้นหญ้านั้นให้ขาด (ในกรณีที่เป็นหญ้าซึ่งตัดมาให้กิน หรือเป็นอาหารข้น โคจะกินโดยไม่ต้องใช้ลิ้นตวัด) โคจะใช้ฟันกรามเคี้ยวอาหารเพียงเล็กน้อยและคลุกเคล้ากับน้ำลาย ให้พอเป็นก้อน แล้วก็กลืนผ่านหลอดอาหารลงไปสู่กระเพาะ rumen ในขณะนั้นโคก็จะกัดกินหญ้าคำต่อๆ ไปเรื่อยๆ
เมื่อโคหยุดพักจากการกินหรือกินอาหารหมดแล้ว rumen จะบีบต้นหญ้าขึ้นมาที่ reticulum แล้ว reticulum จะปั้นหญ้าให้เป็นก้อนขนาดเท่าไข่ไก่เรียกว่า bolus และบีบดันก้อนหญ้านี้ขึ้นมาในปาก เพื่อเคี้ยวให้ละเอียดอีกทีหนึ่ง เรียกขบวนการนี้ว่าการเคี้ยวเอื้อง (rumination) หญ้าที่เคี้ยวเอื้องแล้ว จะถูกส่งกลับมาหมักย่อยใน rumen อีกครั้งหนึ่ง การหมักย่อยนี้เป็นขบวนการที่จุลินทรีย์นำเอาธาตุอาหาร บางอย่างจากอาหารที่โคกินเข้าไป (ซึ่งส่วนใหญ่สัตว์ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้โดยตรง) มาสร้างเซลล์ ของตัวจุลินทรีย์เองในขณะเดียวกันก็เกิดผลพลอยได้คือ Volatile fatty acid ขึ้นมาซึ่งสัตว์สามารถดูดซึม ผ่านผนังกระเพาะไปใช้ประโยชน์ได้
อาหารที่ถูกหมักย่อยแล้วระยะหนึ่งจะออกจาก rumen ผ่าน reticulum เข้าไปยัง omasum ในระหว่างการเดินทางของอาหารนี้ก็จะเกิดการหมักย่อยและการดูดซึมไปด้วย จนกระทั่งอาหารผ่านเข้าไปใน abomasm ซึ่งมีสภาพเป็นกรดอย่างแรง จุลินทรีย์ที่ติดไปกับอาหาร ก็จะตายและถูกน้ำย่อยในกระเพาะส่วนนี้ย่อย และดูดซึมเป็นประโยชน์แก่ร่างกายของสัตว์ ขณะเดียวกัน อาหารที่หลงเหลือจากการหมักย่อยโดยจุลินทรีย์เมื่อเข้ามาถึง abomasm ก็จะถูกน้ำย่อยในกระเพาะ ส่วนนี้ย่อยเช่นกัน
อาหารที่ออกจากระเพาะจะผ่านต่อไปยังลำไส้เล็ก ลำไสใหญ่ ซึ่งมีการย่อยและดูดซึมเช่นกัน และในที่สุดกากอาหารที่เหลือจะถูกส่วนปลายของลำไส้ใหญ่ (Colon) ดูดน้ำออกจำนวนมากและขับ ออกมาเป็นอุจจาระ
อาหารของโค
หญ้า ฟาง ต้นข้าวโพด เป็นอาหารประเภทที่เรียกว่าอาหารหยาบ(Roughage) เพราะมีความ หยาบหรือมีเยื่อใยสูงนั่นเอง ในธรรมชาติโคกินอาหารหยาบจนอิ่มก็เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย แต่ในปัจจุบันต้องการให้โคเติบโตอย่างรวดเร็ว อาหารหยาบอย่างเดียวไม่เป็นการเพียงพอจึงต้องให้อาหารที่มีคุณค่าทางอาหารสูงที่เรียกว่าอาหารข้น (Concentrate) ร่วมไปกับอาหารหยาบด้วย อาหารข้นเป็นส่วนผสมของวัตถุดิบหลายๆ อย่างเช่น รำ กากปาล์ม ข้าวโพด มันสำปะหลัง เป็นต้น และที่น่าสนใจคือ สามารถใช้ปุ๋ยยูเรียผสมลงในอาหาร ข้นเพื่อเป็นแหล่งโปรตีนได้ โคไม่ได้ใช้ยูเรียนนี้โดยตรง แต่จุลินทรีย์ในกระเพาะโคเป็นตัวที่เปลี่ยน ไนโตรเจนจากยูเรียให้เป็นโปรตีนอีกต่อหนึ่ง
วิวัฒนาการด้านอาหารโคขณะนี้ก้าวหน้ามากขึ้น ได้มีการนำเอาหารหยาบกับอาหารข้นมาผสม รวมกันเรียกว่าอาหาร ที เอ็ม อาร์ ( Total Mixed Ration) ทำให้สะดวกและประหยัดแรงงานในการเลี้ยง โคและทำให้โคเติบโตอย่างรวดเร็ว
การผสมพันธุ์และการเลี้ยงดู
การที่ไข่ในรังไข่ของโคตัวเมียสุก จะเกิดฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) ขึ้นมาก ทำให้โคตัวเมีย แสดงอาการกระวนกระวาย น้ำเมือกไหลออกมาทางช่องคลอด และพร้อมที่จะให้ตัวผู้ผสมพันธุ์ ซึ่งเรียกพฤติกรรมนี้ว่า การเป็นสัด (Heat หรือ Estrus) ลูกโคเพศเมียที่สมบูรณ์จะเป็นสัดตั้งแต่ อายุได้ประมาณ 12 เดือน แต่ควรจะปล่อยผ่านไปก่อน จนกระทั่งอายุ 14-15 เดือน จึงจะอนุญาต ให้ผสมพันธุ์ได้ การเป็นสัดแต่ละครั้งจะกินเวลาประมาณ 18 ชั่วโมง หากได้รับการผสมพันธุ์จากตัวผู้ แต่ผสมไม่ติด โคจะกลับสัดและยอมให้ตัวผู้ผสมอีกครั้งใน 21 วัน ข้างหน้า แต่ถ้าผสมติด โคก็จะไม่เป็นสัดและไม่ยอมให้ตัวผู้ผสมพันธุ์อีกเลย โคจะตั้งท้อง 280-290 วัน โดยปกติโคจะคลอดลูกเองโดยไม่ต้องช่วยเหลือ ท่าปกติของลูกโคขณะคลอดคือโผล่ขาหน้าออกมาก่อน ตามด้วย จมูก หัว และลำตัว ตามลำดับ เมื่อลูกโคหล่นถึงพื้น แม่จะเลียลูกจนแห้ง อีกประมาณ 30 นาที ต่อมาลูกโคก็จะยืนได้ และหาดูดนมแม่ทันที นมที่ได้ใน 36 ชั่วโมงแรกหลังคลอดเรียกว่านมน้ำเหลือง (Colostrum) เพราะมีสีเหลืองกว่านมปกติ มียาปฏิชีวนะตามธรรมชาติที่ช่วยป้องกันโรค ป้องกันลูกโค ท้องเสีย แต่นมนี้ไม่ควรให้สัตว์ที่โตแล้วหรือคนบริโภค เพราะไม่สามารถดูดซึมได้ และอาจจะทำให้ ท้องเสีย
ในโคนมจะแยกลูกโคออกจากแม่ตั้งแต่วันแรกหลังคลอด แล้วแยกเลี้ยงต่างหาก แต่ในโคเนื้อจะ ให้ลูกอยู่กับแม่ไปจนอายุได้ประมาณ 7 เดือน จึงแยกลูกออกมา เรียกว่า การหย่านม (Weaning) แม่โคที่ดีควรเป็นสัดหลังคลอดได้ไม่เกิน 60 วัน ฉะนั้นในขณะที่หย่านมลูกนอกท้อง ลูกในท้องจะมีอายุ ได้ 4-5 เดือน ซึ่งจะทำให้แม่โคตัวนั้นให้ลูกได้ปีละ 1 ตัว แม่โคจะให้ลูกได้จนอายุประมาณ 18-20 ปี โคมีอายุยืนได้ถึง 40 ปี ซึ่งอาจจะเทียบได้กับคนอายุ 100 ปี
การเลี้ยงโคเป็นอาชีพ
แบ่งได้เป็น 2 รูปแบบ
โคจะกินหญ้าโดยใช้ลิ้นตวัดต้นหญ้าเข้าปากแล้วใช้ฟันหน้า (ล่าง) กัดต้นหญ้านั้นประกบกับเหงือกบน พร้อมกับเบี่ยงหัวเพื่อดึงต้นหญ้านั้นให้ขาด (ในกรณีที่เป็นหญ้าซึ่งตัดมาให้กิน หรือเป็นอาหารข้น โคจะกินโดยไม่ต้องใช้ลิ้นตวัด) โคจะใช้ฟันกรามเคี้ยวอาหารเพียงเล็กน้อยและคลุกเคล้ากับน้ำลาย ให้พอเป็นก้อน แล้วก็กลืนผ่านหลอดอาหารลงไปสู่กระเพาะ rumen ในขณะนั้นโคก็จะกัดกินหญ้าคำต่อๆ ไปเรื่อยๆ
เมื่อโคหยุดพักจากการกินหรือกินอาหารหมดแล้ว rumen จะบีบต้นหญ้าขึ้นมาที่ reticulum แล้ว reticulum จะปั้นหญ้าให้เป็นก้อนขนาดเท่าไข่ไก่เรียกว่า bolus และบีบดันก้อนหญ้านี้ขึ้นมาในปาก เพื่อเคี้ยวให้ละเอียดอีกทีหนึ่ง เรียกขบวนการนี้ว่าการเคี้ยวเอื้อง (rumination) หญ้าที่เคี้ยวเอื้องแล้ว จะถูกส่งกลับมาหมักย่อยใน rumen อีกครั้งหนึ่ง การหมักย่อยนี้เป็นขบวนการที่จุลินทรีย์นำเอาธาตุอาหาร บางอย่างจากอาหารที่โคกินเข้าไป (ซึ่งส่วนใหญ่สัตว์ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้โดยตรง) มาสร้างเซลล์ ของตัวจุลินทรีย์เองในขณะเดียวกันก็เกิดผลพลอยได้คือ Volatile fatty acid ขึ้นมาซึ่งสัตว์สามารถดูดซึม ผ่านผนังกระเพาะไปใช้ประโยชน์ได้
อาหารที่ถูกหมักย่อยแล้วระยะหนึ่งจะออกจาก rumen ผ่าน reticulum เข้าไปยัง omasum ในระหว่างการเดินทางของอาหารนี้ก็จะเกิดการหมักย่อยและการดูดซึมไปด้วย จนกระทั่งอาหารผ่านเข้าไปใน abomasm ซึ่งมีสภาพเป็นกรดอย่างแรง จุลินทรีย์ที่ติดไปกับอาหาร ก็จะตายและถูกน้ำย่อยในกระเพาะส่วนนี้ย่อย และดูดซึมเป็นประโยชน์แก่ร่างกายของสัตว์ ขณะเดียวกัน อาหารที่หลงเหลือจากการหมักย่อยโดยจุลินทรีย์เมื่อเข้ามาถึง abomasm ก็จะถูกน้ำย่อยในกระเพาะ ส่วนนี้ย่อยเช่นกัน
อาหารที่ออกจากระเพาะจะผ่านต่อไปยังลำไส้เล็ก ลำไสใหญ่ ซึ่งมีการย่อยและดูดซึมเช่นกัน และในที่สุดกากอาหารที่เหลือจะถูกส่วนปลายของลำไส้ใหญ่ (Colon) ดูดน้ำออกจำนวนมากและขับ ออกมาเป็นอุจจาระ
อาหารของโค
หญ้า ฟาง ต้นข้าวโพด เป็นอาหารประเภทที่เรียกว่าอาหารหยาบ(Roughage) เพราะมีความ หยาบหรือมีเยื่อใยสูงนั่นเอง ในธรรมชาติโคกินอาหารหยาบจนอิ่มก็เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย แต่ในปัจจุบันต้องการให้โคเติบโตอย่างรวดเร็ว อาหารหยาบอย่างเดียวไม่เป็นการเพียงพอจึงต้องให้อาหารที่มีคุณค่าทางอาหารสูงที่เรียกว่าอาหารข้น (Concentrate) ร่วมไปกับอาหารหยาบด้วย อาหารข้นเป็นส่วนผสมของวัตถุดิบหลายๆ อย่างเช่น รำ กากปาล์ม ข้าวโพด มันสำปะหลัง เป็นต้น และที่น่าสนใจคือ สามารถใช้ปุ๋ยยูเรียผสมลงในอาหาร ข้นเพื่อเป็นแหล่งโปรตีนได้ โคไม่ได้ใช้ยูเรียนนี้โดยตรง แต่จุลินทรีย์ในกระเพาะโคเป็นตัวที่เปลี่ยน ไนโตรเจนจากยูเรียให้เป็นโปรตีนอีกต่อหนึ่ง
วิวัฒนาการด้านอาหารโคขณะนี้ก้าวหน้ามากขึ้น ได้มีการนำเอาหารหยาบกับอาหารข้นมาผสม รวมกันเรียกว่าอาหาร ที เอ็ม อาร์ ( Total Mixed Ration) ทำให้สะดวกและประหยัดแรงงานในการเลี้ยง โคและทำให้โคเติบโตอย่างรวดเร็ว
การผสมพันธุ์และการเลี้ยงดู
การที่ไข่ในรังไข่ของโคตัวเมียสุก จะเกิดฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) ขึ้นมาก ทำให้โคตัวเมีย แสดงอาการกระวนกระวาย น้ำเมือกไหลออกมาทางช่องคลอด และพร้อมที่จะให้ตัวผู้ผสมพันธุ์ ซึ่งเรียกพฤติกรรมนี้ว่า การเป็นสัด (Heat หรือ Estrus) ลูกโคเพศเมียที่สมบูรณ์จะเป็นสัดตั้งแต่ อายุได้ประมาณ 12 เดือน แต่ควรจะปล่อยผ่านไปก่อน จนกระทั่งอายุ 14-15 เดือน จึงจะอนุญาต ให้ผสมพันธุ์ได้ การเป็นสัดแต่ละครั้งจะกินเวลาประมาณ 18 ชั่วโมง หากได้รับการผสมพันธุ์จากตัวผู้ แต่ผสมไม่ติด โคจะกลับสัดและยอมให้ตัวผู้ผสมอีกครั้งใน 21 วัน ข้างหน้า แต่ถ้าผสมติด โคก็จะไม่เป็นสัดและไม่ยอมให้ตัวผู้ผสมพันธุ์อีกเลย โคจะตั้งท้อง 280-290 วัน โดยปกติโคจะคลอดลูกเองโดยไม่ต้องช่วยเหลือ ท่าปกติของลูกโคขณะคลอดคือโผล่ขาหน้าออกมาก่อน ตามด้วย จมูก หัว และลำตัว ตามลำดับ เมื่อลูกโคหล่นถึงพื้น แม่จะเลียลูกจนแห้ง อีกประมาณ 30 นาที ต่อมาลูกโคก็จะยืนได้ และหาดูดนมแม่ทันที นมที่ได้ใน 36 ชั่วโมงแรกหลังคลอดเรียกว่านมน้ำเหลือง (Colostrum) เพราะมีสีเหลืองกว่านมปกติ มียาปฏิชีวนะตามธรรมชาติที่ช่วยป้องกันโรค ป้องกันลูกโค ท้องเสีย แต่นมนี้ไม่ควรให้สัตว์ที่โตแล้วหรือคนบริโภค เพราะไม่สามารถดูดซึมได้ และอาจจะทำให้ ท้องเสีย
ในโคนมจะแยกลูกโคออกจากแม่ตั้งแต่วันแรกหลังคลอด แล้วแยกเลี้ยงต่างหาก แต่ในโคเนื้อจะ ให้ลูกอยู่กับแม่ไปจนอายุได้ประมาณ 7 เดือน จึงแยกลูกออกมา เรียกว่า การหย่านม (Weaning) แม่โคที่ดีควรเป็นสัดหลังคลอดได้ไม่เกิน 60 วัน ฉะนั้นในขณะที่หย่านมลูกนอกท้อง ลูกในท้องจะมีอายุ ได้ 4-5 เดือน ซึ่งจะทำให้แม่โคตัวนั้นให้ลูกได้ปีละ 1 ตัว แม่โคจะให้ลูกได้จนอายุประมาณ 18-20 ปี โคมีอายุยืนได้ถึง 40 ปี ซึ่งอาจจะเทียบได้กับคนอายุ 100 ปี
การเลี้ยงโคเป็นอาชีพ
แบ่งได้เป็น 2 รูปแบบ
- เลี้ยงแม่โคเพื่อผลิตลูกขาย (Cow-Calf) เป็นอาชีพที่มั่นคงไม่เสี่ยงต่อการตลาด แต่ต้องใช้ เวลายาวนานจึงจะคืนทุนและต้องใช้พื้นที่มาก
- เลี้ยงโคขุน (Feed lot) คือซื้อลูกโคมาเลี้ยงด้วยอาหารอย่างดีเพียงระยะเวลาสั้นๆ ก็ส่งขาย เป็นโคเนื้อได้ รูปแบบนี้เงินหมุนเร็ว ใช้พื้นที่น้อย แต่เสี่ยงต่อการขึ้นลงของราคาและต้อง ตื่นตัวอยู่เสมอ
เนื้อโค (Beef)
โคเมื่อขุนเสร็จแล้วจะได้น้ำหนักประมาณ 500 กิโลกรัม เมื่ออายุประมาณ 18-20 เดือน เมื่อนำส่งโรงฆ่าสัตว์ที่มาตราฐาน จะมีกรรมวิธีในการเอาหนัง เครื่องใน หัว แข้ง ออก เหลือเฉพาะเนื้อกับกระดูกเรียกว่า ซาก (Carcass) ซึ่งจะได้ซากประมาณ 60% ของน้ำหนักมีชีวิตก่อนฆ่า นำซากที่ได้แช่บ่มไว้ในห้องเย็น 30 เซลเซียส เป็นเวลา 14 วัน แล้วนำมาตัดเป็นชิ้นส่วนย่อยๆ แต่ละชิ้นส่วนจะมีราคาต่างกันและเหมาะสำหรับการประกอบอาหารต่างๆ กัน เนื้อสันใน (Tender loin) เป็นเนื้อที่นุ่มที่สุด รองลงมาคือเนื้อสันนอก (Sir loin) ถ้าตัดชิ้นเนื้อให้มีสันในอยู่ด้วยกันกับสันนอก ตรงกลางมีกระดูกรูปตัวที ชิ้นเนื้อนี้เรียกว่า T-bone steak ซึ่งเป็นเนื้อสเต็กที่นิยมมากที่สุด สเต็กที่มีเฉพาะสันนอกติดอยู่กับกระดูกซี่โครงเรียกว่า Rib stack เนื้อสะโพก (Rump และ Round) ก็เป็นเนื้อที่ดีเหมาะสำหรับผัดหรือแกง เนื้อเสือร้องไห้และเนื้อพื้นท้องเป็นเนื้อที่มีมันติดมาก แต่ค่อนข้าง เหนียวจึงเหมาะสำหรับย่างหรือทำเนื้อย่างน้ำตกสำหรับคอเหล้า ส่วนเนื้อน่องและเนื้อไหล่จะมีเอ็นอยู่ด้วยจึงเหมาะสำหรับทำเนื้อตุ๋น
โคเมื่อขุนเสร็จแล้วจะได้น้ำหนักประมาณ 500 กิโลกรัม เมื่ออายุประมาณ 18-20 เดือน เมื่อนำส่งโรงฆ่าสัตว์ที่มาตราฐาน จะมีกรรมวิธีในการเอาหนัง เครื่องใน หัว แข้ง ออก เหลือเฉพาะเนื้อกับกระดูกเรียกว่า ซาก (Carcass) ซึ่งจะได้ซากประมาณ 60% ของน้ำหนักมีชีวิตก่อนฆ่า นำซากที่ได้แช่บ่มไว้ในห้องเย็น 30 เซลเซียส เป็นเวลา 14 วัน แล้วนำมาตัดเป็นชิ้นส่วนย่อยๆ แต่ละชิ้นส่วนจะมีราคาต่างกันและเหมาะสำหรับการประกอบอาหารต่างๆ กัน เนื้อสันใน (Tender loin) เป็นเนื้อที่นุ่มที่สุด รองลงมาคือเนื้อสันนอก (Sir loin) ถ้าตัดชิ้นเนื้อให้มีสันในอยู่ด้วยกันกับสันนอก ตรงกลางมีกระดูกรูปตัวที ชิ้นเนื้อนี้เรียกว่า T-bone steak ซึ่งเป็นเนื้อสเต็กที่นิยมมากที่สุด สเต็กที่มีเฉพาะสันนอกติดอยู่กับกระดูกซี่โครงเรียกว่า Rib stack เนื้อสะโพก (Rump และ Round) ก็เป็นเนื้อที่ดีเหมาะสำหรับผัดหรือแกง เนื้อเสือร้องไห้และเนื้อพื้นท้องเป็นเนื้อที่มีมันติดมาก แต่ค่อนข้าง เหนียวจึงเหมาะสำหรับย่างหรือทำเนื้อย่างน้ำตกสำหรับคอเหล้า ส่วนเนื้อน่องและเนื้อไหล่จะมีเอ็นอยู่ด้วยจึงเหมาะสำหรับทำเนื้อตุ๋น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น